วันพุธที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2556

คำถามท้ายหน่วยการเรียนรู้ที่ 8

1.ให้นักเรียนตอบคำถามต่อไปนี้ โดยเขียนตามความเข้าใจของผู้เรียน

1.1การนำเสนอผลงานมีวัตถุประสงค์อย่างไร
ตอบ   มีวัตถุประสงค์ ดังนี้
1.ให้ผู้ชมเข้าใจสาระการนำเสนอ
2.ให้ผู้ชมเกิดการประทับใจ ซึ่งจะนำไปสู่ความเชื่อถือในผลงานที่นำเสนอ
1.2หลักการพื้นฐานสำคัญของการนำเสนอผลงานมีอะไรบ้าง
ตอบ  หลักการพื้นฐานสำคัญของการนำเสนอผลงาน มีดังนี้
1.การดึงดูดความสนใจ
2.ความชัดเจนและความกระชับของเนื้อหา
3.ความเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย

1.3การบรรยายสดกับการพากย์มีข้อพิจารณาในการเลือกใช้ต่างกันอย่างไร
ตอบ  การบรรยายสด เหมาะสำหรับประชุมหรือสัมมนาที่ต้องการให้ผู้ชมมีส่วนร่วม
          การพากย์ เหมาะสำหรับเนื้อหาที่สามารถถ่ายทอดได้โดยไม่ต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของผู้ชม

1.4เครื่องมือที่ใช้ในการนำเสนอผลงานที่ใช้ในปัจจุบันมีอะไรบ้าง
ตอบ  เครื่องฉายสไลด์    เครื่องฉายแผ่นใส    เครื่องฉายData Projector หรือ LCD Projector
1.5รูปแบบที่ใช้ในการนำเสนอผลงานที่ใช้ในปัจจุบันมีอะไรบ้าง
ตอบ  ปัจจุบันมี 2 แบบ คือ
1.การนำเสนอแบบ Slide Presentation
2.รูปแบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอน(CAI

คำถามท้ายหน่วยการเรียนรู้ที่ 7

1.จงอธิบายเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบต่างๆว่ามีกี่ประเภท
ตอบ  เครือข่ายคอมพิวเตอร์ มีดังนี้
1.อินทราเน็ต(Intranet) เป็นเครือข่ายสำหรับองค์กร ข้อมูลส่วนใหญ่จะเป็นข้อมูลเกี่ยวกับองค์กร เชื่อมต่อภายในตึกเดียวกัน
2.เอกซ์ทราเน็ต(Extranet)เป็นเครือข่ายสำหรับองค์กร แต่เปิดให้สมาชิกภายนอกเชื่อมต่อกับเครือข่ายได้
3.อินเทอร์เน็ต(Internet)เป็นเครือข่ายสาธารณะที่ไม่มีเจ้าของ ทุกคนสามารถเชื่อมต่อได้

2.อินทราเน็ต(Intranet)หมายความว่าอย่างไร
ตอบ  อินทราเน็ต(Intranet)  หมายถึง เป็นเครือข่ายสำหรับองค์กร ข้อมูลส่วนใหญ่จะเป็นข้อมูลเกี่ยวกับองค์กร เชื่อมต่อภายในตึกเดียวกัน
3.จงยกตัวอย่างแหล่งข้อมูลการสืบค้นบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
ตอบ   http://www.google.com
           http://www.altavista.com
         http://www.excite.com   เป็นต้น
 
4.จงอธิบายวิธีการสืบค้นข้อมูลจากเว็บไซต์ Google พอสังเขป
ตอบ  พิมพ์คำที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่ต้องการค้นหาเพียง2-3คำลงไป แล้วกดแป้นEnter หรือคลิกที่ปุ่ม Go บนหน้าจอ Google ก็จะแสดงเว็บที่ค้นหา
5.Digital library หมายความว่าอย่างไร
ตอบ  Digital library หมายความว่า ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์
6.จงยกตัวอย่างแหล่งข้อมูลเว็บไซต์ประเภทของการศึกษา
ตอบ   http://www.school.net.th   
           http://www.learn.in.th 

คำถามท้ายหน่วยการเรียนรู้ที่ 6

1.อินเทอร์เน็ต(Internet) หมายความว่าอย่างไร
ตอบ  อินเทอร์เน็ต คือ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั่วโลกเข้าด้วยกัน
2.จงอธิบายความสำคัญของอินเทอร์เน็ตทางด้านการศึกษาว่ามีอะไรบ้าง
ตอบ  ด้านการศึกษามีความสำคัญ ดังนี้
1.สามารถใช้เป็นแหล่งค้นคว้าหาข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลทางวิชาการ  ข้อมูลด้านการบันเทิง ด้านการแพทย์ และอื่นๆที่น่าสนใจ
2.ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตจะทำหน้าที่เปรียบเสมือนเป็นห้องสมุดขนาดใหญ่
3.นักศึกษาสามารถใช้อินเทอร์เน็ตติดต่อกับมหาลัยหรือโรงเรียนอื่นๆเพื่อค้นหาข้อมูลที่กำลังศึกษาอยู่ได้ ทั้งที่ข้อมูลที่เป็นข้อความเสียง ภาพเคลือนไหวต่างๆ 
3.จงบอกประโยชน์ของอินเทอร์เน็ตที่ใช้ในชีวิตประจำวัน
ตอบ   ประโยชน์ของอินเทอร์เน็ตที่ใช้ในชีวิตประจำวัน  ได้แก่
1.ใช้แลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร สะดวกและรวดเร็ว
2.ใช้สืบค้นข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต่างๆทั่วโลกได้
3.ใช้แลกเปลี่ยนข้อมูลกับเครื่องคอมพิวเตอร์ต่างระบบ
4.สามารถส่งข้อมูลได้หลายรูปแบบ
5.ให้ความบันเทิงในรูปแบบต่างๆ เช่น การฟังเพลง เล่นเกม เป็นต้น
6.ใช้สื่อสารด้วยข้อความ
7.ใช้ส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์
8.ซื้อขายสินค้าและบริการ
4.การติดต่อโดยใช้สายโทรศัพท์ผ่านอุปกรณ์ Modem หมายความว่าอย่างไร
ตอบ  คือการแปลงสัญญาณคอมพิวเตอร์ให้เป็นสัญญาณโทรศัพท์และแปลงสัญญาณโทรศัพท์ให้เป็นสัญญาณคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ที่ใช้ในการแปลงสัญญาณดิจิทัลจากคอมพิวเตอร์เป็นสัญญาณแอนาล็อกผ่านสายโทรศัพท์ไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ปลายทาง และขณะเดียวกันยังสามารถแปลงสัญญาณแอนาล็อกกลับเป็นสัญญาณดิจิทัลได้
5.ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต www มีประโยชน์อย่างไร
ตอบ  เป็นบริการระบบข่าวสารที่มีข้อมูลอยู่ทุกแห่งในโลก เช่น เอกสารรูปภาพ ภาพเคลื่อนไหวและเสียง เป็นต้น
6.จงยกตัวอย่างประโยชน์ของ E-mail
ตอบ   เช่น การรับ-ส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งสิ่งที่ส่งอาจเป็นข้อมูล รูปภาพ เสียงไปถึงผู้รับ ไม่ว่าจะอยู่ที่ใดในโลกได้อย่างรวดเร็วภายในเวลาไม่กี่วินาที

คำถามท้ายหน่วยการเรียนรู้ที่ 5

1.ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์หมายความว่าอย่างไร
ตอบ  ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ หมายถึง การเชื่อมโยงต่อระบบคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกัน โดยการเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์แต่ละตัวที่ใช้ทำงานเข้าหากัน
2.ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์มีประโยชน์อย่างไร
ตอบ  มีประโยชน์ในเรื่องของการสื่อสารข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์ที่รวดเร็วขึ้น
3.ระบบเครือข่ายในบริเวณเฉพาะที่หมายความว่าอย่างไร
ตอบ   ระบบเครือข่ายในบริเวณเฉพาะที่ หมายถึง การเชื่อมต่อเครือข่ายในด้านการใช้ข้อมูลร่วมกัน
4.ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตหมายความว่าอย่างไร
ตอบ  ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต หมายถึง การเชื่อมโยงต่อกันทั่วโลก
5.ระบบเครือข่ายร่วมปฏิบัติการหมายความว่าอย่างไร
ตอบ  ระบบเครือข่ายร่วมปฏิบัติการ หมายถึง ระบบเครือข่ายที่ทำให้เกิดการรวมพลังของคอมพิวเตอร์เครือข่ายมาทำงานร่วมกัน
6.ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์มีกี่ประเภทอะไรบ้าง
ตอบ   ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ มีประเภท คือ
1.เครือข่ายแลนหรือเครือข่ายบริเวณเฉพาะที่
2.เครือข่ายแมนหรือเครือข่ายบริเวณนครหลวง
3.เครือข่ายแวนหรือเครือข่ายบริเวณกว้าง
7.รูปแบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์มีกี่รูปแบบอะไรบ้าง
ตอบ  มีรูปแบบ คือ 1.เครือข่ายเชิงกายภาพ  2.เครือข่ายเชิงตรรกยะ

คำถามท้ายหน่วยการเรียนรู้ที่ 4

1.ซอฟต์แวร์ คืออะไร และทำหน้าที่อย่างไร
ตอบ  ซอฟต์แวร์ หมายถึง ชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่ใช้สั่งงานให้คอมพิวเตอร์ทำงาน
2.ซอฟต์แวร์มีกี่ประเภท อะไรบ้าง
ตอบ   มีประเภท คือ 1.ซอฟต์แวร์ระบบ  2.ซอฟต์แวร์ประยุกต์
3.ซอฟต์แวร์ระบบ คืออะไร
ตอบ  ซอฟต์แวร์ระบบ คือ ดำเนินงานพื้นฐานต่างๆของระบบคอมพิวเตอร์ เช่น รับข้อมูลจากแผงแป้นแล้วแปลความหมายเพื่อให้คอมพิวเตอร์เข้าใจ นำข้อมูลไปแสดงผลบนหน้าจอ
4.ซอฟต์แวร์ประยุกต์ คืออะไร
ตอบ  ซอฟต์แวร์ประยุกต์ คือเป็นโปรแกรมที่ออกแบบมาเพื่อการใช้งานเฉพาะเรื่องตามที่เราต้องการ เช่นงานพิมพ์เอกสาร งานพิมพ์ราบงาน วาดภาพ เล่นเกม ซึ่งเน้นการใช้งานอย่างสะดวก
5.ซอฟต์แวร์เฉพาะงาน คืออะไร
ตอบ  ซอฟต์แวร์เฉพาะงาน คือ เป็นโปรแกรมที่ทำหน้าที่ช่วยในการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ในหน้าที่เฉพาะด้านบางอย่าง เช่น การตรวจหาและกำจัดไวรัสคอมพิวเตอร์ การจัดเรียงข้อมูล เป็นต้น
6.ซอฟต์แวร์มีความสำคัญและจำเป็นต่องานคอมพิวเตอร์อย่างไร
ตอบ ซอฟต์แวร์นั้นสามารถสั่งให้คอมพิวเตอร์อ่านข้อมูล แปลความหมาย และทำการประมวลผลและส่งผลลัพธ์ออกมาในรูปแบบสารสนเทศตามที่เราต้องการ ถ้าไม่มีซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ก็ไม่สามารถทำงานตามที่เราต้องการได้
7.ซอฟต์แวร์และภาษาคอมพิวเตอร์เกี่ยวข้องกันอย่างไร
ตอบ   ซอฟต์แวร์จะเป็นตัวแปลภาษาคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะแปลภาษาโดยคำสั่งในระบบเลขฐานสอง
8.ระบบปฏิบัติการคืออะไร ทำหน้าที่อะไร
ตอบ   ระบบปฏิบัติการ คือ เป็นซอฟต์แวร์ที่ควบคุมกิจกรรมทั้งหมดของคอมพิวเตอร์  ระบบปฏิบัติการใช้ในการบริหารข้อมูลและทำแฟ้มข้อมูลภายในคอมพิวเตอร์

คำถามท้ายหน่วยการเรียนรู้ที่ 3

1.คอมพิวเตอร์หมายถึงอะไร และมีประโยชน์อย่างไร
ตอบ   คอมพิวเตอร์ คือ เป็นเครื่องมือหรืออุปกรณ์ประเภทอิเล็กทรอนิกส์ที่ทำงานด้วยคำสั่ง ชุดคำสั่ง หรือโปรแกรมต่างๆ สามารถเชื่อมต่อกันเป็นเครือข่ายได้หลายแบบ รวมทั้งเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
         ประโยชน์ของคอมพิวเตอร์  
1.มีความเร็วในการทำงาน
2.มีประสิทธิภาพในการทำงานสูง
3.มีความถูกต้องแม่นยำตามโปรแกรมที่สั่งงานและข้อมูลที่ใช้
4.เก็บข้อมูลได้มาก ไม่ต้องใช้เอกสารและตู้เก็บ
5.สามารถโอนย้ายข้อมูลจากเครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่งโดยผ่านระบบเครือข่ายได้รวดเร็วและสะดวก
2.คอมพิวเตอร์มีที่มาอย่างไร
ตอบ  เริ่มจากการคิดค้นของชาวจีนโดยการประดิษฐ์ลูกคิด ต่อมาชาวฝรั่งเศสได้ประดิษฐ์เครื่องคิดเลขขึ้นมาเมื่อปีพ.ศ.2185 และในปีพ.ศ.2376 ชาร์ล แบบเบจ ได้สร้างเครื่องคำนวณที่อาศัยโปรแกรมเป็นเครื่องแรกของโลกจึงได้รับยกย่องว่าเป็นบิดาแห่งคอมพิวเตอร์
3.ส่วนประกอบสำคัญของคอมพิวเตอร์ได้แก่อะไรบ้าง
ตอบ   1.ฮาร์ดแวร์   2. ซอต์ฟแวร์  3.ข้อมูล  4.บุคลากร
4.ระบบคอมพิวเตอร์หมายถึงอะไร ส่วนประกอบที่สำคัญของระบบคอมพิวเตอร์ได้แก่อะไร
ตอบ  ระบบคอมพิวเตอร์ หมายถึง กรรมวิธีที่คอมพิวเตอร์ทำการใดๆกับข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบที่เป็นประโยชน์ตามความประสงค์ของผู้ใช้มากที่สุด
ส่วนประกอบที่สำคัญคือ 1.ฮาร์ดแวร์   2. ซอต์ฟแวร์  3.ข้อมูล  4.บุคลากร

5.ฮาร์ดแวร์ หมายถึงอะไร ส่วนประกอบที่สำคัญของฮาร์ดแวร์ได้แก่อะไร
ตอบ  ฮาร์ดแวร์ หมายถึง ตัวเครื่องและอุปกรณ์ส่วนต่างๆที่เราสามารถสัมผัสและจับต้องได้ ฮาร์ดแวร์ประกอบด้วยส่วนที่สำคัญ 4 ส่วน คือ 
1.ส่วนประมวณผล  2.ส่วนความจำ  3.อุปกรณ์รับเข้าและส่งออก  4.อุปกรณ์หน่วยเก็บข้อมูล

6.ส่วนประกอบใดของอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ที่มีหน้าที่หลักในการควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์เปรียบเสมือนส่วนสมองของระบบคอมพิวเตอร์
ตอบ   CPU
7.หน่วยคอมพิวเตอร์แบบแรม(RAM)และแบบรอม(ROM)ของหน่วยความจำหลักแตกต่างกันอย่างไร
ตอบ  หน่วยความจำแรมเป็นหน่วยความจำที่เก็บข้อมูลได้ชั่วคราวหากปิดเครื่องหรือไม่มีกระแสไฟฟ้าข้อมูลก็จะลบหายไป  แต่หน่วยความจำรอมสามารถเก็บข้อมูลได้ถาวรซึ่งเป็นหน่วยความจำที่ไว้ใช้เก็บโปรแกรม
 8.จานบันทึกข้อมูล(Hard Disk)ประกอบด้วยอะไร ทำหน้าที่อย่างไร
ตอบ  จานบันทึกข้อมูลประกอบด้วย แผ่นจานแม่เหล็กหลายแผ่น และเครื่องขับจาน ทำหน้าที่หมุนจานแม่เหล็กด้วยความเร็วสูง มีหัวแม่เหล็กทำหน้าที่อ่านและเขียนข้อมูลต่างๆลงบนผิวของแผ่น
9.บอกความหมายของคำต่อไปนี้เมกะไบต์(Megabyte) กิกะไบต์(Gigabyte) พิกเซล(Pixel) จิกะเฮิร์ซ(GHz)
ตอบ  คือขนาดของการเก็บข้อมูล
10.จอภาพ แป้นพิมพ์ และเมาท์ ทำหน้าที่อย่างไรในเครื่องคอมพิวเตอร์
ตอบ  จอภาพ ทำหน้าที่แสดงผล  แป้นพิมพ์ ทำหน้าที่รับเข้าข้อมูลจากการกดแป้นพิมพ์เพื่อส่งต่อไปให้เครื่องคอมพิวเตอร์   เมาท์ ทำหน้าที่ ในการควบคุมตัวชี้ที่ปรากฎบนจอภาพ ให้สามารถเลื่อนไปยังตำแหน่งต่างๆที่ต้องการ

คำถามท้ายหน่วยการเรียนรู้ที่ 4

1.ซอฟต์แวร์ คืออะไร และทำหน้าที่อย่างไร
ตอบ  ซอฟต์แวร์ หมายถึง ชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่ใช้สั่งงานให้คอมพิวเตอร์ทำงาน
2.ซอฟต์แวร์มีกี่ประเภท อะไรบ้าง
ตอบ   มีประเภท คือ 1.ซอฟต์แวร์ระบบ  2.ซอฟต์แวร์ประยุกต์
3.ซอฟต์แวร์ระบบ คืออะไร
ตอบ  ซอฟต์แวร์ระบบ คือ ดำเนินงานพื้นฐานต่างๆของระบบคอมพิวเตอร์ เช่น รับข้อมูลจากแผงแป้นแล้วแปลความหมายเพื่อให้คอมพิวเตอร์เข้าใจ นำข้อมูลไปแสดงผลบนหน้าจอ
4.ซอฟต์แวร์ประยุกต์ คืออะไร
ตอบ  ซอฟต์แวร์ประยุกต์ คือเป็นโปรแกรมที่ออกแบบมาเพื่อการใช้งานเฉพาะเรื่องตามที่เราต้องการ เช่นงานพิมพ์เอกสาร งานพิมพ์ราบงาน วาดภาพ เล่นเกม ซึ่งเน้นการใช้งานอย่างสะดวก
5.ซอฟต์แวร์เฉพาะงาน คืออะไร
ตอบ  ซอฟต์แวร์เฉพาะงาน คือ เป็นโปรแกรมที่ทำหน้าที่ช่วยในการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ในหน้าที่เฉพาะด้านบางอย่าง เช่น การตรวจหาและกำจัดไวรัสคอมพิวเตอร์ การจัดเรียงข้อมูล เป็นต้น
6.ซอฟต์แวร์มีความสำคัญและจำเป็นต่องานคอมพิวเตอร์อย่างไร
ตอบ ซอฟต์แวร์นั้นสามารถสั่งให้คอมพิวเตอร์อ่านข้อมูล แปลความหมาย และทำการประมวลผลและส่งผลลัพธ์ออกมาในรูปแบบสารสนเทศตามที่เราต้องการ ถ้าไม่มีซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ก็ไม่สามารถทำงานตามที่เราต้องการได้
7.ซอฟต์แวร์และภาษาคอมพิวเตอร์เกี่ยวข้องกันอย่างไร
ตอบ   ซอฟต์แวร์จะเป็นตัวแปลภาษาคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะแปลภาษาโดยคำสั่งในระบบเลขฐานสอง
8.ระบบปฏิบัติการคืออะไร ทำหน้าที่อะไร
ตอบ   ระบบปฏิบัติการ คือ เป็นซอฟต์แวร์ที่ควบคุมกิจกรรมทั้งหมดของคอมพิวเตอร์  ระบบปฏิบัติการใช้ในการบริหารข้อมูลและทำแฟ้มข้อมูลภายในคอมพิวเตอร์

วันพุธที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ในกศึกษาเขียนระบบการสอนวิชาใดก็ได้มา 1 วิชาในสาขาวิชาปฐมวัยตามหลัก IPO ในแต่ละองค์ประกอบให้นักศึกษา อธิบายรายละเอียดแต่ละองค์ประกอบนั้น ๆ มาด้วย


 การจัดการเรียนการสอนแบบ Story line
วิธีสอนแบบสตอรีไลน์ เป็นวิธีที่ใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง จะมีการผูกเรื่องแต่ละตอนให้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง และเรียงลำดับเหตุการณ์ หรือที่เรียกว่า กำหนดเส้นทางเดินเรื่อง โดยใช้คำถามหลักเป็นตัวนำ สู่การให้ผู้เรียนทำกิจกรรมอย่างหลากหลาย เพื่อสร้างความรู้ด้วยตนเอง เป็นการเรียนตามสภาพจริง ที่มีการบูรณาการระหว่างวิชา เพื่อเป้าหมายพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนทั้งตัว
ลักษณะเด่นของวิธีสอน
1.กำหนดเส้นทางการเดินเรื่อง (Storyline) และจัดเรียงเป็นตอนๆ (Episode) ด้วยการใช้คำถามหลัก (Key Questions) เป็นตัวกำหนดกิจกรรมเพื่อการเรียนรู้
2.เน้นการใช้กิจกรรม (Activity Based Approach) ให้สอดคล้องกับคำถามหลัก และเนื้อหาการผูกเรื่อง ซึ่งมีดังนี้
1) ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ให้มีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนมากที่สุด
2) ยึดกลุ่มเป็นแหล่งความรู้ เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์กัน
3) ให้ผู้เรียนสร้างความรู้ด้วยตนเอง โดยเน้นกระบวนการควบคู่กับความรู้
4) เน้นการนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน
3.เน้นให้ผู้เรียนสร้าง (Construct) ความรู้ด้วยตนเอง โดยมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมอย่างกระฉับกระเฉง เกิดการเรียนรู้อย่างมีความหมาย สามารถพัฒนาผู้เรียน ทั้งด้านสติปัญญา (Head) ด้านอารมณ์ เจตคติ (Heart) และด้านทักษะปฏิบัติ (Hands) เป็นวิธีสอนที่ให้อำนาจแก่ ผู้เรียน (Learner Empowerment) คือ ให้โอกาสสร้างความรู้หรือปรับแต่งโครงสร้างความรู้ด้วย ตนเองอย่างเป็นอิสระ และแสดงถึงกระบวนการในการได้มาซึ่งความรู้นั้นๆ รับผิดชอบต่อ ความรู้ที่สร้างขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การเรียนรู้ตลอดชีวิต (Long Life Learning)
4.เป็นการเรียนตามสภาพจริง (Authentic Learning) มีการบูรณาการระหว่างวิชา (Integration)
5.มีเหตุการณ์ (Incidents) เกิดขึ้นเพื่อให้ผู้เรียนได้แก้ไขปัญหาและเรียนรู้
6.แต่ละเรื่อง หรือแต่ละเหตุการณ์ที่กำหนด ต้องมีการระบุสิ่งต่อไปนี้ หรือมีองค์ประกอบต่อไปนี้
1) กำหนดฉาก โดยระบุสถานที่และเวลาโดยเฉพาะ
2) ตัวละคร อาจเป็นคนหรือเป็นสัตว์
3) วิถีการดำเนินชีวิตเพื่อใช้ศึกษา
4) ปัญหาที่รอการแก้ไข
บทบาทของครูและผู้เรียนเมื่อใช้วิธีสอนแบบสตอรีไลน์
บทบาทของครู
1.เป็นผู้เตรียมการ ในเรื่องต่างๆ ได้แก่
1)กรอบแนวคิดของเรื่องที่จะสอนโดยเขียนเส้นทางการเดินเรื่อง (Storyline) และกำหนดเรื่องเป็นตอนๆ (Episode) โดยแต่ละหัวข้อเรื่องในแต่ละตอนได้จากการบูรณาการ
2)เตรียมคำถามสำคัญหรือคำถามหลัก เพื่อใช้กระตุ้นให้ผู้เรียนคิด วิเคราะห์และลงมือปฏิบัติ
2.เป็นผู้อำนวยความสะดวกระหว่างการเรียนการสอน เช่น
1)เป็นผู้นำเสนอ (Presenter) เช่น นำเสนอประเด็น ปัญหา เหตุการณ์ในเรื่องราวที่จะสอน
2)เป็นผู้สังเกต (Observer) สังเกตขณะผู้เรียนตอบคำถาม ถามคำถาม ปฏิบัติกิจกรรม รวมทั้งสังเกตพฤติกรรมอื่นๆ ของผู้เรียน
3) เป็นผู้ให้กระตุ้น (Motivator) กระตุ้นความสนใจ ผู้เรียน เพื่อให้มีส่วนร่วมในการเรียนอย่างแท้จริง
4) เป็นผู้ให้การเสริมแรง (Reinforcer) เพื่อให้เพิ่มความถี่ของพฤติกรรมการเรียน
5) เป็นผู้แนะนำ (Director)
6) เป็นผู้จัดบรรยากาศ (Atmosphere Organizor) ให้บรรยากาศการเรียนการสอนดีทั้งด้านกายภาพและด้านจิตสังคม เพื่อให้ผู้เรียนเรียนอย่างมีความสุข
7)เป็นผู้ให้ข้อมูลย้อนกลับ (Reflector) ให้การวิพากย์วิจารณ์ข้อดี ข้อบกพร่อง เพื่อให้พฤติกรรมคงอยู่ หรือปรับปรุง แก้ไข พฤติกรรมการเรียน
8)เป็นผู้ประเมิน (Evaluator) ควรมีการประเมินผลเป็นระยะๆ ประเมินกระบวนการ (Process) พฤติกรรมระหว่างหาความรู้ (Performance) และประเมินผลงาน (Product) ซึ่งอาจเป็นองค์ความรู้ และ/หรือ ผลงาน
3.เน้นให้ผู้เรียนใช้กระบวนการ (Process Oriented) มากกว่าเนื้อเรื่อง เนื้อหาสาระ (Content Oriented)
4.เน้นการบูรณาการระหว่างวิชา (Integration) หรือผสมผสานระหว่างวิชาในหลักสูตร (Interdisciplinary)
5.เป็นแหล่งข้อมูลหรือแหล่งความรู้แหล่งหนึ่งที่ให้ผู้เรียนซักถาม ปรึกษาเพื่อค้นคว้าหาความรู้
6.เป็นผู้ริเริ่มประเด็น ปัญหา เหตุการณ์ในเรื่องราวที่จะสอน และต้องจัดกิจกรรมเพื่อจบลงด้วยความตื่นเต้น ความพอใจ ทั้งครู ผู้เรียน และผู้เกี่ยวข้องอื่นๆ เช่น ผู้บริหาร ผู้ปกครอง และคนในชุมนุม เป็นต้น
บทบาทของผู้เรียน
1.เป็นผู้ศึกษาค้นคว้าปฏิบัติด้วยตนเองในทุกเรื่องตามที่ครูกำหนด เพื่อให้เกิดการเรียนรู้
2.ดำเนินการเรียนด้วยตนเอง เพื่อให้การเรียนสนุกสนาน ตื่นเต้น มีชีวิตชีวา และท้าทายอยู่ตลอดเวลา
3.มีส่วนร่วมในการเรียนทั้งร่างกาย จิตใจและการคิด ในทุกสถานการณ์ที่ครูกำหนดขึ้น อย่างเป็นธรรมชาติเหมือนสถานการณ์ในชีวิตจริง
4.เรียนทั้งในห้องเรียน (Class) และในสถานการณ์จริง (Reality) เพื่อพัฒนาทักษะทางสังคม
5.ตอบคำถามสำคัญ หรือคำถามหลัก (Key Questions) ที่ครูกำหนดจากประสบการณ์ของตนเอง หรือประสบการณ์ในชีวิตจริง
6.มีความกระฉับกระเฉง ว่องไว ในการมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง เช่น สามารถจำ พิจารณา ทำตามคำแนะนำของครูได้อย่างดี
7.ทำงานด้วยความร่วมมือร่วมใจ อาจจะทำงานเดี่ยว เป็นคู่ เป็นกลุ่ม ได้ด้วยความเต็มใจและด้วยเจตคติที่ดีต่อกัน
8.มีความสามารถในการสื่อสาร เช่น ฟัง พูด อ่าน เขียน มีทักษะสังคม รวมทั้งมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีระหว่างเพื่อนในกลุ่ม เพื่อนในกลุ่มอื่นๆ และกับครู
9.เป็นผู้มีความสามารถแก้ปัญหา คิดริเริ่มสิ่งใหม่ที่เป็นประโยชน์
10.เป็นผู้สามารถสร้างความรู้ (Construct) ด้วยตนเอง และเป็นการเรียนรู้อย่างมีความหมาย ที่สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
ประโยชน์ของการเรียนรู้ด้วยวิธีสอนแบบสตอรีไลน์
1.เป็นการเรียนรู้อย่างมีความหมาย ผู้เรียนจำได้ถาวร (Retention) ซึ่งการเรียนแบบนี้ต้องเริ่มต้นด้วยการทบทวนความรู้เดิม และประสบการณ์เดิมของผู้เรียน
2.ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในการเรียน (Participate) ทั้งทางร่างกาย จิตใจ สติปัญญา สังคม เป็นการพัฒนาทั้งตัว
3.ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมตามประสบการณ์ชีวิตของตน และเป็นประสบการณ์จริงในชีวิตของผู้เรียน
4.ผู้เรียนได้ฝึกทักษะต่างๆ ซ้ำแล้วซ้ำอีกโดยไม่มีการเบื่อหน่าย
5.ผู้เรียนจะได้สร้างจินตนาการตามเรื่องที่กำหนด เป็นการเรียนรู้ด้านธรรมชาติ เศรษฐกิจ วัฒนธรรม การเมือง วิถีชีวิต ผสมผสานกันไป อันเป็นสภาพจริงของชีวิต
6.ผู้เรียนจะได้พัฒนาความคิดระดับสูง คิดไตร่ตรอง คิดอย่างมีวิจารณญาณ คิด แก้ปัญหา คิดริเริ่ม คิดสร้างสรรค์
7.ผู้เรียนได้ฝึกทักษะการทำงานเป็นกลุ่ม ตั้งแต่ 2 คน 4 คน 6 คน รวมทั้งเพื่อนทั้งห้องเรียน ขึ้นอยู่กับลักษณะกิจกรรม เป็นการพัฒนาให้เป็นผู้มีมนุษยสัมพันธ์
8.ผู้เรียนได้เรียนรู้จากสิ่งใกล้ตัวสู่สิ่งไกลตัว เช่น เรียนตัวของเรา บ้านของเรา ครอบครัวของเรา ชุมชนของเรา ประเทศของเรา และประเทศเพื่อนบ้าน เป็นไปตามระดับสติปัญญาของผู้เรียน
9.ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างเป็นสุข สนุกสนาน เห็นคุณค่าของงานที่ทำ และงานที่นำไปนำเสนอต่อเพื่อนต่อชุมนุม ทำให้เกิดความตระหนัก เห็นความสำคัญของการเรียนรู้ด้วยตนเอง
ขั้นตอนการสอนแบบ Story Line
1. ศึกษาหลักสูตร เพื่อเตรียมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสาระการเรียนรู้ ทักษะและ
ประสบการณ์ เพื่อวางแผนในการกำหนดหัวเรื่อง
2. กำหนดหัวเรื่อง ควรเป็นเรื่องที่เด็ก ๆ สนใจ ช่วยขยายความรู้ของเด็ก
3. เตรียมการผูกเรื่องหรือเส้นทางการดำเนินเรื่อง
4. ตั้งคำถามหลักหรือคำถามสำคัญ ซึ่งจะทำหน้าที่เชื่อมโยงการดำเนินเรื่องใน
แต่ละตอน เป็นตัวกระตุ้นผู้เรียน หรือเปิดประเด็นให้ผู้เรียนได้คิดวิเคราะห์
จากเส้นทางการเดินเรื่องข้างต้น ครูสามารถบูรณาการหรือสอดแทรกไปได้ทุกสาระวิชา และ สอดแทรกเพื่อปลูกฝังคุณธรรมและจริยธรรมหรือคุณลักษระที่พึงประสงค์ได้ด้วย
สื่อ ประกอบด้วยสื่อที่หลากหลาย ควรเป็นสื่อที่นักเรียนและครูช่วยกันหามา
การวัดและประเมินผล การวัดและประเมินผลในกิจกรรมการเรียนการสอนแบบ Story Line เป็นการประเมินจากการสังเกตหรือ ประเมินจากผลงาน หรือชิ้นงานของนักเรียน ผู้สอนต้องเก็บข้อมูลแล้วแปลออกมาเป็นคุณภาพ เช่นการประเมินจากการจัดนิทรรศการและผลงานที่รวบรวมในแฟ้มสะสมผลงาน อาจให้นักเรียนเลือกผลงานที่นักเรียนพอใจ พร้อมอธิบายเหตุผลที่เลือกผลงานชิ้นนั้นมาประเมิน ความก้าวหน้าของพัฒนาการเด็ก โดยมีข้อคิดในการประเมิน ดังนี้
1. ประเมินเป็นระยะ
2. ครูควรมองการประเมินผลของเด็กในเชิงบวก
3. ให้เด็กมีโอกาสในการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับชิ้นงานที่นักเรียน ชอบ ไม่ชอบ หรือชิ้นงานที่เขาภูมิใจ
4. ไม่ควรเปรียบเทียบผลงานเด็กกับเพื่อนๆ
หัวใจของการจัดกิจกรรมแบบ Story Line คือการใช้คำถามเพื่อนำไปสู่ การคิดที่มีประสิทธิภาพ ลักษณะการสอนแบบ Story Line ที่พบโดยทั่วไปจึงมีลักษณะ ใช้การตั้งคำถาม เป็นตัวเดินเรื่อง เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้ มีการปฏิบัติและการเสริมแรง เป็นการเรียนการสอนแบบ บูรณาการ พัฒนาผู้เรียนตามศักยภาพการเรียนรู้ และ เป็นการเรียนรู้แบบร่วมมือ ดังนั้นบรรยากาศในการเรียนรู้จึงเป็นแบบกัลยานมิตร นักเรียนเรียนรู้ด้วยความสนุกสนาน ประสบผลสำเร็จส่งผลต่อการ ยอมรับตัวเองและเกิดความภาคภูมิใจในผลงานที่ได้ ซึ่งคุณลักษระข้างต้นจะเอื้อให้นักเรียนมีทัศนคติที่ดีต่อการเรียนรู้ ต่อโรงเรียน และรักที่จะเรียนรู้ ซึ่งเป็นคุณสมบัติสำคัญของเด็กที่ประสบผลสำเร็จใน การเรียนรู้พึงมี


https://sites.google.com/site/prapasara/8-2

วันพุธที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

กระบวนการผลิตน้ำตาลทรายดิบ

การผลิตน้ำตาลทราย จัดว่าเป็น System หรือไม่ให้นึกถึงถ้าทำงานเป็นระบบ I P O Input Pvocess Out put

 
1.
กระบวนการสกัดน้ำอ้อย (Juice Extraction) :
ทำการสกัดน้ำอ้อยโดยผ่านอ้อยเข้าไปในชุดลูกหีบ (4-5 ชุด) และกากอ้อยที่ผ่านการสกัดน้ำอ้อยจากลูกหีบชุดสุดท้าย จะถูกนำไปเป็นเชื้อเพลิงเผาไหม้ภายในเตาหม้อไอน้ำ เพื่อผลิตไอน้ำมาใช้ในกระบวนการผลิต และน้ำตาลทราย
2.
การทำความสะอาด หรือทำใสน้ำอ้อย
(Juice Purification) :
น้ำอ้อยที่สกัดได้ทั้งหมดจะเข้าสู่กระบวนการทำใส เนื่องจากน้ำอ้อยมีสิ่งสกปรกต่าง ๆ จึงต้องแยกเอาส่วนเหล่านี้ออกโดยผ่านวิธีทางกล เช่น ผ่านเครื่องกรองต่าง ๆ และวิธีทางเคมี เช่น โดยให้ความร้อน และผสมปูนขาว
3.
การต้ม (Evaporation) :
น้ำอ้อยที่ผ่านการทำใสแล้วจะถูกนำเข้าสู่ชุดหม้อต้ม (Multiple Evaporator) เพื่อระเหยเอาน้ำออก(ประมาณ 70 %) โดยน้ำอ้อยข้นที่ออกมาจากหม้อต้มลูกสุดท้าย เรียกว่า น้ำเชื่อม (Syrup)
4.
การเคี่ยว (Crystallization) :
น้ำเชื่อมที่ได้จากการต้มจะถูกนำเข้าหม้อเคี่ยวระบบสุญญากาศ (Vacuum Pan) เพื่อระเหยน้ำออกจนน้ำออกจนน้ำเชื่อมถึงจุดอิ่มตัว ที่จุดนี้ผลึกน้ำตาลจะเกิดขึ้นมา โดยที่ผลึกน้ำตาล และกากน้ำตาลที่ได้จากการเคี่ยวนี้รวมเรียกว่า แมสิควิท (Messecuite)
5.
การปั่นแยกผลึกน้ำตาล (Centrifugaling) :
แมสิควิทที่ได้จากการเคี่ยวจะถูกนำไปปั่นแยกผลึกน้ำตาลออกจาก กากน้ำตาล โดยใช้เครื่องปั่น (Centrifugals) ผลึกน้ำตาลที่ได้นี้จะเป็นน้ำตาลดิบ


กระบวนการผลิตน้ำตาลทรายขาว และน้ำตาลรีไฟน์ น้ำตาลทรายดิบถูกนำไปละลายน้ำ แล้วถูกผ่านเข้า 5 ขั้นตอนการผลิต
1.
การปั่นละลาย (Affinated Centrifugaling) :
นำน้ำตาลดิบมาผสมกับน้ำร้อน หรือน้ำเหลืองจากการปั่นละลาย (Green Molasses) น้ำตาลดิบที่ผสมนี้เรียกว่า แมกม่า (Magma) และแมกม่านี้จะถูกนำไปปั่นละลายเพื่อล้างคราบน้ำเหลือง หรือกากน้ำตาลออก
2.
การทำความสะอาด และฟอกสี (Clarification) :
น้ำเชื่อมที่ได้จากหม้อปั่นละลาย (Affinated Syrup) จะถูกนำไปละลายอีกครั้งเพื่อละลายผลึกน้ำตาลบางส่วนที่ยังละลายไม่หมดจากการปั่น และผ่านตะแกรงกรองเข้าผสมกับปูนขาว เข้าฟอกสีโดยผ่านเข้าไปในหม้อฟอก (ปัจจุบันนิยมใช้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็นตัวฟอก) จากนั้นจะผ่านเข้าสู่การกรองโดยหม้อกรองแบบใช้แรงดัน (Pressure Filter) เพื่อแยกตะกอนออก และน้ำเชื่อมที่ได้จะผ่านไปฟอกเป็นครั้งสุดท้ายโดยกระบวนการแลกเปลี่ยนประจุ (Ion Exchange Resin) จะได้นำเชื่อมรีไฟน์ (Fine Liquor)
3.
การเคี่ยว (Crystallization) :
น้ำเชื่อมรีไฟน์ที่ได้จะถูกนำเข้าหม้อเคี่ยวระบบสูญญากาศ (Vacuum Pan) เพื่อระเหยน้ำออกจนน้ำเชื่อมถึงจุดอิ่มตัว
4.
การปั่นแยกผลึกน้ำตาล (Centrifugaling) :
แมสิควิทที่ได้จากการเคี่ยวจะถูกนำไปปั่นแยกผลึกน้ำตาลออกจากกากน้ำตาล โดยใช้เครื่องปั่น (Centrifugals) ผลึกน้ำตาลที่ได้นี้จะเป็น น้ำตาลรีไฟน์ และน้ำตาลทรายขาว
5.
การอบ (Drying) :
ผลึกน้ำตาลรีไฟน์ และน้ำตาลทรายขาวที่ได้จากการปั่นก็จะเข้าหม้ออบ (Dryer) เพื่อไล่ความชื้นออก แล้วบรรจุกระสอบเพื่อจำหน่าย


 




 

ที่มา:http://www.thaisugarmillers.com/tsmc-02-02.html



การแยกออกแต่ละประเภท
Input                                               Prorrss                                                         Output
โรงงานน้ำตาลทราย                   การสกัดน้ำอ้อย                                           น้ำตาลทราย   
เครื่องจักร                                     การทำความสะอาดน้ำอ้อย                        กากน้ำตาลทราย
วัตถุดิบ                                          การต้มให้ได้น้ำเชื่อม                                  ชันอ้อย
แรงงาน                                          การเคี่ยวให้เป็นผลึกน้ำตาล
เงินทุน                                            การปั่นแยกผลึกน้ำตาล
                                                        การอบ
                                                         การบรรจุถุง